History

บริษัท ไทยเทคโนกลาส กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) มุ่งเน้นพัฒนาสินค้าและบริการด้วยการให้ความสำคัญกับการสร้างมูลค่าเพิ่ม ความต้องการของลูกค้า และมุ่งเน้นในการพัฒนานวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ รวมถึงการร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน และนักออกแบบผลิตภัณฑ์ชั้นนำของประเทศ ส่งผลให้บริษัทสามารถรักษาขีดความสามารถในการเพิ่มมูลค่าสินค้า การรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันในอุตสาหกรรมกระจกแปรรูป และการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนได้ ผ่านการนำเสนอสินค้าและบริการใหม่ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความสำเร็จของงานออกแบบที่โดดเด่นและแปลกใหม่ให้เป็นจริงและได้ง่ายกว่าที่เคย

พัฒนาการที่สำคัญของ TTG ในช่วงที่ผ่านมา
พ.ศ. 2536– วันที่ 19 สิงหาคม 2536 บริษัท ไทยเทคโนกลาส จำกัด ก่อตั้งขึ้นด้วยทุนจดทะเบียน 2 ล้านบาท มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1,000 บาท
โดยกลุ่มครอบครัวเลียวกิจสิริ เพื่อประกอบธุรกิจผลิตกระจกแปรรูปสำหรับรถยนต์
พ.ศ. 2539– บริษัทได้ลงทุนเครื่องจักรสำหรับการผลิตกระจกนิรภัยเทมเปอร์ และกระจกนิรภัยลามิเนต
เพื่อเพิ่มผลิตภัณฑ์กระจกนิรภัยเทมเปอร์ และกระจกนิรภัยลามิเนต เพื่อการจำหน่าย
พ.ศ. 2543– เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 2 ล้านบาทเป็น 45 ล้านบาท โดยกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม
พ.ศ. 2546– เปลี่ยนแนวทางการทำธุรกิจจากกระจกรถยนต์เป็นกระจกอาคาร รวมไปถึง ลงทุนเครื่องจักรกระจกนิรภัยเทมเปอร์ (กระจกแปรรูปพื้นฐาน)
พ.ศ. 2547– นำเสนอกระจกแปรรูปพื้นฐาน และพัฒนาผลิตภัณฑ์กระจกลามิเนตลายผ้า (Fabric Glass) นำเสนอออกสู่ตลาด เป็นรายแรกๆ ของประเทศไทย
ถือเป็นการสร้างโอกาสและทางเลือกในการใช้กระจกเพื่อตกแต่งภายในอาคาร
พ.ศ. 2549– ร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมกับผู้ผลิตฟิล์มจากประเทศญี่ปุ่น
– ขยายพื้นที่อาคารโรงงานไทยเทคโนกลาสเป็นขนาด 8 ไร่ 1 งาน 5.3 ตารางวา จากเดิมขนาด 4 ไร่ 3 งาน 1.6 ตารางวา
– ขยายการลงทุนเครื่องจักรกระจกนิรภัยลามิเนต (กระจกแปรรูปพื้นฐาน)
พ.ศ. 2550– เปิดตัวกระจกลามิเนตสี (Rainbow Glass) 3 คอลเลคชั่น (Collection) ครอบคลุมเฉดสีมากกว่า 100 เฉดสี ให้นักออกแบบตกแต่งภายในได้เลือกใช้
พ.ศ. 2551– บริษัทได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิต (MDICP Standard) กับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
และเข้าร่วมเป็นสมาชิกของเครือข่ายธุรกิจ ขยายโอกาสทางการค้าและเพิ่มพันธมิตร
– บริษัทเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 45 ล้านบาทเป็น 98 ล้านบาท โดยกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม
– ขยายการลงทุนเครื่องจักรกระจกนิรภัยเทมเปอร์
– ร่วมโครงการวิจัยกับสถาบันและมหาวิทยาลัยหลายแห่งเพื่อร่วมพัฒนานวัตกรรม
พ.ศ. 2553– เปิดตัวกระจกพิมพ์ภาพสีดิจิทัล (Pixel Glass) เป็นรายแรกๆของประเทศไทย กระจกดังกล่าวจะช่วยทำให้
จินตนาการของนักออกแบบที่สร้างไว้ในรูปแบบดิจิตอลถูกแปลงออกมาเป็นสีสันและลวดลายบนกระจก
– จัดตั้งฝ่ายนวัตกรรมของบริษัท เพื่อทำการวิจัยและพัฒนา
พ.ศ. 2554– ได้รับรางวัลไทยสร้างสรรค์ ประจำปี 2554 รางวัลพระราชทานในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
สาขางานออกแบบ ของสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)
พ.ศ. 2555– ได้รับรางวัล Bai Po Business Awards by Sasin โดยสถาบันบัณฑิตฯ ศศินทร์ และธนาคารไทยพาณิชย์
พ.ศ. 2557– ได้รับรางวัล Thailand Trust Mark (Thailand Trust Quality) โดยกระทรวงพาณิชย์
พ.ศ. 2558– จัดตั้งและเข้าถือหุ้นร้อยละ 99.99 ใน บริษัท เจเค เวิลด์เทรด จำกัด (JK World Trade) ซึ่งประกอบธุรกิจตัวแทนจำหน่ายสินค้าต่อเนื่องกระจกของบริษัท
– ได้รับรางวัล SMEs ดีเด่น โดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)
พ.ศ. 2559– จัดตั้งและเข้าถือหุ้นร้อยละ 99.99 ใน บริษัท กลาส เอ็กซ์เปิร์ท จำกัด (Glass Expert) เพื่อให้บริการติดตั้งกระจกของบริษัท
– เปิดตัวผลิตภัณฑ์หินบัคบีท (Bugbeat) ซึ่งผลิตจากเศษกระจกจากการผลิตกระจกแปรรูป มีคุณสมบัติดูดซับน้ำหอม ช่วยกระจายกลิ่น ปรับอากาศให้หอมสดชื่น
อีกทั้งมีบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม สื่อถึงความเป็นไทย จึงเหมาะกับการเป็นของฝากสำหรับนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวประเทศไทย
– ผลิตภัณฑ์ หินบัคบีท (Bugbeat) ได้รับรางวัลการออกแบบผลิตภัณฑ์ DEmark จากประเทศไทย รางวัล Gmark จากประเทศญี่ปุ่น และ รางวัล DIA จากประเทศจีน
– ได้รับรางวัลยกย่องสำหรับผู้เข้ารอบสุดท้ายในการประกวดธรรมาภิบาลแห่งปี 2559 โดยสถาบันวิจัยเศรษฐกิจ ป๋วย อึ๊งภากรณ์
พ.ศ. 2560– วันที่ 6 ธันวาคม 2560 บริษัทปรับโครงสร้างกลุ่มบริษัทเพื่อลดความซับซ้อนในการบริหารงาน จึงได้จดทะเบียนเลิกบริษัท เจเค เวิลด์เทรด จำกัด ที่ประกอบธุรกิจ
จำหน่ายสินค้าต่อเนื่องจากผลิตภัณฑ์กระจก และ บริษัท กลาส เอ็กซ์เปิร์ท จำกัด ที่ประกอบธุรกิจให้บริการติดตั้งกระจกพิเศษ และปรับโครงสร้างการประกอบธุรกิจ
ให้อยู่ภายใต้การดำเนินงานของบริษัทเพียงบริษัทเดียว
– วันที่ 7 ธันวาคม 2560 ครอบครัวเลียวกิจสิริ จัดตั้งบริษัท อรุณโฮลดิ้ง จำกัด โดยมีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท เพื่อจัดโครงสร้างการถือหุ้น
– เปิดตัวกระจกกันภัย (BRG Glass) เป็นกระจกกันภัยที่สามารถป้องกันภัยคุกคามได้ระดับตั้งแต่การบุกรุกด้วยอุปกรณ์ช่าง อาวุธทั่วไป จนกระทั่งอาวุธปืน
– ได้รับรางวัล Prime Minister’s Export Award ประเภท Best Green Innovation โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
พ.ศ. 2561– ซื้อที่ดินพื้นที่ 11 ไร่ 60.6 ตารางวา  ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงงานปัจจุบันของบริษัทจากกรรมการบริษัทเพื่อการปรับโครงสร้างการดำเนินงาน
ด้วยราคาเทียบเคียงราคาประเมินจากผู้ประเมินอิสระ
– บริษัทเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 98 ล้านบาท เป็น 158 ล้านบาท โดยให้สิทธิตามสัดส่วนการถือหุ้นเดิม ทั้งนี้ มีผู้ถือหุ้นบางรายไม่ได้ใช้สิทธิการเพิ่มทุน
พ.ศ. 2562– เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือหุ้น โดย บริษัท อรุณโฮลดิ้ง จำกัด ที่ก่อตั้งโดยครอบครัวเลียวกิจสิริ เข้าถือหุ้นบริษัทร้อยละ 53.74
– บริษัทได้จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด โดยเปลี่ยนชื่อเป็น “บริษัท ไทยเทคโนกลาส กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)”
และจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นที่ตราไว้จากหุ้นละ 1,000 บาทเป็นหุ้นละ 0.50 บาท
– บริษัทเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 158 ล้านบาท เป็น 211 ล้านบาท หรือเท่ากับเพิ่มจำนวนหุ้นสามัญจดทะเบียนจากจำนวน 316 ล้านหุ้น เป็น 422 ล้านหุ้น
โดยการออกหุ้นใหม่เป็นหุ้นสามัญจำนวน 106 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 0.50 บาท เพื่อเสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (Initial Public Offering)